ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ



ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ 



         ระบบสารสนเทศแบบ DSS เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจ ซึ่งมีลักษณะมีโครงสร้างไม่ชัดเจน โดยนำข้อมูลมาจากหลายแหล่งช่วยในการนำเสนอและมีลักษณะยืดหยุ่นตามความต้องการ

ลักษณะของ DSS
1) ระบบสารสนเทศที่ใช้สำหรับการสนับสนุนผู้ตัดสินใจทางการบริหารทั้งที่เป็นตัวบุคคลหรือกลุ่ม โดยการตัดสินใจนั้นจะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่มีลักษณะเป็นแบบ ไม่มีโครงสร้าง (unstructured situations) โดยจะมีการนำวิจารณญาณของมนุษย์กับข้อมูล จากคอมพิวเตอร์มาใช้ประกอบในการตัดสินใจ
2) ระบบ DSS ช่วยในการตอบสนองความต้องการที่ไม่ได้คาดการณ์มาก่อนโดยผู้ใช้สามารถปรับข้อมูลใน DSS ได้ตลอดเวลาเพื่อจัดการกับเงื่อนไขต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยใช้การวิเคราะห์ที่เรียกว่า Sensitivity Analysis
3) ช่วยในการตัดสินใจที่ต้องการความรวดเร็วสูง เพื่อใช้ประกอบในการกำหนดกลยุทธ์ในการแข่งขัน ดังนั้น DSS จึงมีลักษณะการโต้ตอบได้ (interactive)
4) เสนอทางวิเคราะห์ในทางเลือกต่างๆ ในสถานการณ์ที่มีความซับซ้อน
5) จัดการเก็บข้อมูลซึ่งมาจากหลายแหล่งได้ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน
6) นำเสนอได้ทั้งรายงานที่เป็นข้อความและกราฟฟิค

ประโยชน์ของ DSS 

1) ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้างและและไม่มีโครงสร้าง
2) ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจที่ต้องมีการอาศัยข้อมูลด้วยกัน
3) มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการตัดสินใจ
4) ปรับให้ทำงานง่ายเข้ากับผู้ใช้แต่ละคน
5) ส่งเสริมให้ผู้ใช้เกิดการเรียนรู้
6) ใช้กับงานเชิงปริมาณ
7) ใช้กับงานที่สลับซับซ้อน
8) พัฒนาให้เป็นงานบนเว็บได้
9) ใช้ในการวิเคราะห์ได้







                       kanokwan.sru.ac.th/Admini/ch3.ppt